รัฐมนตรีฯ อว.หนุน ไทย สู่ Global Medical Hub เร่งพัฒนางานวิจัยนวัตกรรมการแพทย์

รัฐมนตรีฯ อว.หนุน ไทย สู่ Global Medical Hub เร่งพัฒนางานวิจัยนวัตกรรมการแพทย์

     ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า จากวิกฤตของโรคโควิด-19 นี้ประเทศไทยได้แสดงให้เห็นว่าระบบการแพทย์และสาธารณสุขของเราถือเป็นจุดแข็งของประเทศ ซึ่งไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของภูมิภาคนี้ โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อปรับระบบการแพทย์และสร้างฐานระบบนวัตกรรมทางการแพทย์ด้วยการวิจัยและนวัตกรรม (Healthcare Reinvention)

     โดยมีการหารือร่วมกันของผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพและการแพทย์ของไทย ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนจากคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ตัวแทนจากหน่วยงานวิจัย อาทิ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว., สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รวมทั้งหน่วยงานจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อระดมสมอง พร้อมทั้งสรุปแนวทางในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมทางการแพทย์ของไทย ตามนโยบาย BCG Economy ของนายกรัฐมนตรี โดยมุ่งเน้นให้การวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ต่อยอดไปสู่การผลิตและการใช้ประโยชน์ได้จริง (Research, Development, Innovation, Manufacturing, Market) พร้อมทั้งการปลดล็อกกฎระเบียบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และการพัฒนาทุนมนุษย์

     “Healthcare Reinvention” มีเป้าหมายให้ไทยเป็น “Global Medical Hub” โดยมีประเด็นมุ่งเน้น (Priority Areas) 8 ประเด็น ได้แก่

1. การรักษาเฉพาะบุคคล (Personalized Medicine) การดูแลรักษาที่ได้ประสิทธิภาพและแม่นยำด้วยเทคโนโลยีด้วยจีโนม
2. การพัฒนายาและวัคซีน (Vaccines and New Medicines) รวมถึงการบริหาร Medical Supply Chain และการส่งเสริมผู้ผลิตที่มีคุณภาพ
3. อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ (Medical Devices) เน้นการผลิตเครื่องมือแพทย์ยุค New Normal
4.ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) พัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ติดต่อกันได้แบบ Real-time ลดการแออัดของโรงพยาบาล
5. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับงานวิจัยทางคลินิก (Clinical Research Infrastructure)ผลักดันให้เกิดการวิจัยทางคลีนิค ผลิตและคิดค้นยาและวัคซีนใหม่ๆ
6. สมุนไพรและการแพทย์พื้นบ้าน (Herbal and Traditional Medicine) พัฒนาและใช้สมุนไพรไทย บรรจุสมุนไพรไทยไว้ในหลักสูตรทางการแพทย์และให้ความสำคัญการวิจัยทางคลีนิค
7. โภชนเภสัช (Nutraceuticals) คิดค้นผลิตอาหารที่มีสรรพคุณอาหารด้านการป้องกัน รักษาโรคและชะลอวัย
8. การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
(Medical Tourism) เชื่อมต่อการบริการทางการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

     จากการระดมสมอง ทุกภาคส่วนเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องจัดลำดับความสำคัญ และบูรณาการทำงานกับทุกภาคส่วน รวมทั้งภาคเอกชน โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จะจัดทำร่างกลไกและการขับเคลื่อน Healthcare Reinvention เพื่อหารือกับผู้ที่จะขับเคลื่อนประเด็นหลักแต่ละประเด็นเพื่อลงรายละเอียดทั้ง 8 ประเด็นต่อไป

ที่มา : thansettakij.com

รัฐมนตรีฯ อว.หนุน ไทย สู่ Global Medical Hub เร่งพัฒนางานวิจัยนวัตกรรมการแพทย์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll to top

Pin It on Pinterest