“ยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้า-สินค้า Gadget” บนออนไลน์โตสวนกระแสความกังวลเรื่องรายจ่ายของคนไทย

“ยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้า-สินค้า Gadget” บนออนไลน์โตสวนกระแสความกังวลเรื่องรายจ่ายของคนไทย

    จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus) ส่งผลให้เศรษฐกิจของโลกถดถอยลงไปมาก การดำเนินการทางธุรกิจของบริษัททั้งเล็กและใหญ่ในหลาย ๆ ประเทศมีการหยุดชะงัก เนื่องจากมาตรการในการควบคุมโรคระบาดของแต่ละประเทศที่เพิ่มความรัดกุมและเป็นสาเหตุที่ทำให้สายงานด้านการผลิตไม่สามารถที่จะนำเข้าชิ้นส่วนและเปิดโรงงานการผลิตได้อย่างปกติ

     “เวฟเมคเกอร์” ได้ทำการสำรวจการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคในระดับโลกในช่วงการแพร่ระบาดของสถานการณ์ COVID-19 รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ที่จะเน้นไปในเรื่องของใช้ส่วนตัว อย่างโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

    สำหรับในบริบทของประเทศไทย คุณอธิราช หุตะสิงห์ ผู้อำนวยการแผนกนวัตกรรมและเทคโนโลยี เวฟเมคเกอร์ (ประเทศไทย) เผยว่า ถึงคนไทยจะมีความกังวลในเรื่องการวางแผนค่าใช้จ่ายมากขึ้นในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แต่ข้อมูลจากหน่วยงานด้านอีคอมเมิร์ซของเวฟเมคเกอร์ และกรุ๊ปเอ็มกลับพบว่า “อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยกลับมีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 150%” แม้ว่ายอดขายสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ที่เคยเป็นสินค้ายอดนิยม 3 อันดับแรกบนอีคอมเมิร์ซจะตกอันดับลงไป เนื่องจากความตื่นตัวของผู้บริโภคที่เปลี่ยนมาให้ความสนใจกับสินค้าประเภทสุขภาพและการป้องกันตัวจากการติดเชื้อไวรัส แต่ข้อมูลของกรุ๊ปเอ็มที่ทำงานร่วมกับแพลทฟอร์มพาร์ทเนอร์อย่างใกล้ชิด ทำให้เรายังสามารถสรุปได้ว่ายอดขายบนอีคอมเมิร์ซสำหรับสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยยังคงมีการเติบโตขึ้น ซึ่งต่างจากบริบทในภาพรวมของโลก

     โดยภาพรวมของอีคอมเมิร์ซในไทย และปัจจัยที่ทำให้ยอดขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยังคงเติบโต เนื่องจาก ได้แก่

1. ในยุคที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ผู้บริโภคชาวไทยมีการเข้าถึงข้อมูลบนโลกออนไลน์เพิ่มขึ้น นั่นหมายถึงจำนวนของผู้ที่สามารถเข้าถึงสื่อโฆษณาที่มากขึ้น แต่ในทางกลับกันสังเกตได้ว่าจำนวนโฆษณากลับทำไม่เยอะขึ้นตามจำนวนคนดู จึงเป็นเหตุให้ต้นทุนในการลงโฆษณา (CPM) ลดลง และเป็นผลดีต่อแบรนด์ที่ต้องการเข้าหาผู้บริโภคในช่วงนี้

2. อีกหนึ่งเทรนด์สำคัญที่สามารถช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าหาผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นก็คือ การสร้างออนไลน์คอนเทนต์ผ่านสื่อบุคคล (Influencer) ที่แบรนด์เลือก ซึ่งปัจจุบัน Influencer เป็นทั้งสื่อ และคนที่สามารถสร้างความเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคได้โดยตรง ยิ่งแบรนด์สามารถใช้ Influencer ในการสร้างคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์จากผู้บริโภคโดยปรับไปตามสถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นได้ดีเท่าไหร่ก็ยิ่งจะทำให้คอนเทนต์นั้นถูกแชร์และกระจายออกไปได้ง่ายขึ้นและเป็นโอกาสในการสร้างความต้องการ (Demand) ในการซื้อสินค้าได้

จากการทำงานในแคมเปญต่าง ๆ ให้กับลูกค้า เวฟเมคเกอร์ พบว่าทุกวันนี้มี Influencer รายใหม่เกิดขึ้นทุกวัน ซึ่งนับเป็นความท้าทายก้อนโตสำหรับทั้งแบรนด์และนักการตลาดว่าจะเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม และเพื่อให้นักการตลาดสามารถเลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรุ๊ปเอ็ม และบริษัทในเครือได้ทำการพัฒนาระบบการหา Influencer ผ่านกลุ่มพัฒนาประสิทธิภาพธุรกิจ Influencer หรือ INCA ที่มีการใช้เทคโนโลยี Little Crawler หรือโรบอทจิ๋วลงไปในคอนเทนต์ของ Influencer ทำให้เวฟเมคเกอร์ รวมถึงเอเยนซี่อื่น ๆ ของกรุ๊ปเอ็ม เพิ่มความได้เปรียบทางด้านความสามารถในการทำ Influencer Marketing ที่มีความเหมาะสมในแต่ละแคมเปญของลูกค้าและช่วยเปลี่ยนผู้ติดตามของ Influencer แต่ละคนให้กลายมาเป็นผู้บริโภคของแบรนด์ผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลที่วัดผลได้ภายใต้ลิขสิทธ์ของกรุ๊ปเอ็ม” คุณอธิราช กล่าว

“สุดท้ายนี้ไม่ว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 จะหมดลงเมื่อใด สิ่งที่นักการตลาดจะต้องคำนึงถึงก็คือการเตรียมตัวที่จะเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภค ด้านรูปแบบการดำเนินธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้นทุกคนต้องเร่งปรับตัว ปรับทัศนะคติ รวมไปถึงการปรับแผนกลยุทธ์ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อที่จะก้าวไปข้างหน้าและสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการการทำธุรกิจให้มากที่สุด โดยทั้งนี้นักการตลาดจะต้องไม่ลืมเรื่องของการสนับสนุนการทำงานร่วมกับสังคมที่สามารถต่อยอดโอกาสทางธุรกิจในอนาคตอีกด้วย 

ที่มา marketingoops.com

“ยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้า-สินค้า Gadget” บนออนไลน์โตสวนกระแสความกังวลเรื่องรายจ่ายของคนไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll to top

Pin It on Pinterest